วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

การเปลี่ยนแปลงทางสัังคม


การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมนี้ เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ที่ก้าวไปสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age) พื้นฐานทางสังคมที่ตั้งอยู่บนทรัพยากรทุนและแรงงานก็ถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็น ทักษะและความรู้ที่สร้างสรรค์
 เป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้นกับสังคมทุกสังคม แต่อัตราที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอกของแต่ละสังคมซึ่งแตกต่างกันออกไปอย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีทั้งการเปลี่ยนแปลงที่สมาชิกไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นและเลวลงบางครั้งสมาชิกจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบางสิ่งตามการเปลี่ยนนั้นให้ทัน เพื่อให้ระบบสังคมสามารถดำรงอยู่ร่วมกันอย่างปกติและสามารถตอบสนองบางสิ่งตามการเปลี่ยนแปลงนั้นให้ทัน
 รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
 1.การเปลี่ยนแปลงโดยการปฏิวัติ (Revolution)
หมายถึง ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสถาบันส่วนใหญ่ในสังคม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงค่านิยมสำคัญของสังคม อย่างรุนแรงและรวดเร็ว
 2. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป (Trends)


   หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกทีละเล็กละน้อยในระยะเวลาอันยาวนาน การเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบ Mechanical Solidarity อันเป็นสังคมเรียบง่าย แบบชนบท มีค่านิยมจารีตประเพณี เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไปสู่สังคมแบบ Organic Solidarity
  3. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มนุษย์ไม่ค่อยได้สังเกต ดูเหมือนมีอิทธิพลน้อย เพราะสมาชิกไม่รู้ตัว แต่คนในยุคหลังได้สังเกตว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายในช่วงเวลานั้น จนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ตามมา เช่น ทัศนคติต่อเรื่องเกย์  การทำศัลยกรรมเพื่อความสวยงาม เป็นต้น 
 อัตราการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ บางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในขณะที่บางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในอัตราที่แตกต่างกันเหล่านี้ นักสังคมวิทยาได้สรุปไว้ 5 ประการ  คือ


  1. จำนวนประชากร
  2. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
  3. เทคโนโลยี  และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ 
  4. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
  5. การเกิดขึ้นของพฤติกรรมรวมหมู่และขบวนการสังคม